สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง วิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดและการบริหารธุรกิจบันเทิง ระดับปริญญาตรี

  1. ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาดนตรีและศิลปะการแสดง ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts in Music and Performing Arts

  2. ชื่อปริญญา

    ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ดนตรีและศิลปะการแสดง) ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts in Music and Performing Arts อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : ศป.บ.(ดนตรีและศิลปะการแสดง) อักษรย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) : B.F.A. (Music and Performing Arts)

  3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 128 หน่วยกิต

    แบ่งออกเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะสาขา 89 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

  4. จุดมุ่งหมาย

    มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถรอบด้าน เพื่อพร้อมที่จะก้าวไปเป็นบุคลากรในวงการธุรกิจและวงการธุรกิจบันเทิงที่มีคุณภาพโดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้การออกแบบภาพลักษณ์ให้กับศิลปินและนักแสดงในสังกัด การออกแบบผลิตภัณฑ์ในวงการบันเทิง การเข้าใจกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและวงการบันเทิง การทำการตลาดแบบต่างๆ การบริหารจัดการองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการบันเทิง เช่น ค่ายเพลง ค่ายละคร ค่ายภาพยนตร์ ห้องบันทึกเสียง โรงเรียนสอนดนตรี และการแสดง บริษัทผลิตโฆษณาและเพลงประกอบโฆษณา เป็นต้น และเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงศาสตร์ในวงการบันเทิงอย่างแท้จริง เพื่อมีความเข้าใจในการร่วมงานกับศิลปินในสาขาและแขนงต่างๆ นักศึกษาจะได้ฝึกเบื้องต้น ในทักษะด้านการ ร้องเพลง การเต้น และการแสดงอีกด้วย นอกจากนี้ผู้เรียนยังจะได้เรียนรู้ศาสตร์ในการสื่อสารด้วยสื่อบันเทิง (Entertainment Media) ครบทุกด้าน รวมถึงสื่อด้านกีฬา (Sports Media) และสื่อด้านการศึกษาด้วยสื่อบันเทิง (Edutainment Media) อีกด้วย อีกทั้งผู้เรียนยังได้เตรียมตนเองให้พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยผู้เรียนรู้จะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจนานาชาติ เรียนภาษาอังกฤษ และเลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่สอง อาทิ ภาษาเกาหลี ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และได้ฝึกงานในวงการบันเทิงในปีสุดท้ายยก่อนจบการศึกษาด้วย

  5. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

    นักการตลาดด้วยการใช้สื่อบันเทิง ผู้จัดการศิลปินนักร้องนักดนตรี นักแสดง นักกีฬาอาชีพ นักประชาสัมพันธ์องค์กร ผู้ผลิตสื่อบันเทิงด้านต่างๆ (Entertainment Media) สื่อด้านกีฬา (Sports Media) และสื่อด้านการศึกษาด้วยสื่อบันเทิง (Edutainment Media) นักธุรกิจบันเทิงด้านต่างๆ เช่น ธุรกิจสังกัดเพลง ละครโทรทัศน์ ละครเวที ละครเพลง ภาพยนตร์ สังกัดนักร้อ ง นักดนตรี นักแสดง นักกีฬาอาชีพ โรงเรียนดนตรีและศิลปะการแสดง การผลิตและประชาสัมพันธ์ผลงานเพลงและ มิวสิควีดีโอ ผู้ผลิตงาน โฆษณา ผู้ผลิตงาน สื่อบันเทิงชนิดต่างๆ Executive Producer เพลงหรือภาพยนตร์ และอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  6. ตัวอย่างรายชื่อวิชาบางส่วน

    หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารการตลาดและการบริหารธุรกิจบันเทิง  ระดับปริญญาตรี 4 ปี

    • ธุรกิจบันเทิง
    • ธุรกิจบันเทิงนานาชาติ
    • กฎหมายธุรกิจบันเทิง
    • สัมมนาวงการบันเทิง
    • โครงงานศิลปิน
    • ประวัติศาสตร์ศิลปะการแสดง
    • อุตสาหกรรมการแสดงนานาชาติ
    • การจัดการสื่อด้านการกีฬาและสื่อการเรียนรู้เชิงบันเทิง
    • ทักษะการนำเสนองานธุรกิจบันเทิงและการเจรจาต่อรอง
    • หลักการสื่อสารธุรกิจบันเทิง
    • การวิจารณ์งานศิลปะการแสดง
    • หลักการตลาดธุรกิจบันเทิง
    • หลักการประชาสัมพันธ์ธุรกิจบันเทิง
    • หลักการการสื่อสารตราด้วยสื่อบันเทิง
    • หลักการโฆษณาด้วยสื่อบันเทิง
    • การสื่อสารการตลาดผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต
    • การจัดการด้านการแสดง
    • กฎหมายและจรรยาบรรณสำหรับการสื่อสารธุรกิจบันเทิง
    • กระบวนการผลิตงานด้านการแสดง
    • การสื่อสารและการเป็นพิธีกร
    • การขับร้องเบื้องต้น
    • การเต้นเบื้องต้น
    • การแสดงละครเวทีเบื้องต้น
    • การแสดงภาพยนตร์เบื้องต้น
    • การแสดงละครโทรทัศน์เบื้องต้น
  7. คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเข้าศึกษา

    หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารการตลาดและการบริหารธุรกิจบันเทิง ระดับปริญญาตรี 4 ปี รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

    • สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
    • มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.00
    • มีความประพฤติดี ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาด้านศิลปะการแสดง